คอนกรีตผสมเสร็จ อุบล
คอนกรีตผสมเสร็จ คืออะไร ?

ก่อนจะเป็น คอนกรีตผสมเสร็จ เรามาทำความรู้จักกับ คอนกรีต กันก่อนนะครับ 
             คอนกรีต เป็นวัสดุผสม ที่ใช้ในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะ คอนกรีตผสมเสร็จ ที่ผสมมาพร้อมใช้งานในรถผสมปูน  ตัวอย่างเช่น คอนกรีตผสมเสร็จ ดีมิกซ์คอนกรีต ( Dmix concrete ) 

ส่วนผสมหลักของคอนกรีต ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ

โดยกระบวนการผลิตนี้ จะนำวัตถุดิบทั้ง 3 ชนิด มาผสมเข้าด้วยกัน และเมื่อผสมแล้วเสร็จ วัตถุดิบจะทำปฏิกิริยาเคมีเข้าด้วยกันซึ่งจะทำให้คอนกรีตแข็งตัวขึ้นอย่างช้าๆ ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ผสมแล้วเสร็จ คอนกรีตจะแข็งตัวแปลงสภาพจากของไหลเป็นของแข็ง ซึ่งความแข็งแรงของคอนกรีตจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจึงจะคงที่ ที่จุดสูงสุด

วัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีต

  1. ปูนซีเมนต์: ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องเป็นปูนซีเมนต์ตามมาตรฐาน ม.อ.ก.
  2. มวลรวมแบบละเอียด : ส่วนมากจะเป็นทราย ทรายที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีความละเอียดที่พอดี โดยมีค่า Fineness Modulus (เป็นตัวบ่งบอกความละเอียดของทรายนั้นๆ) ที่เหมาะสม
  3. มวลรวมแบบหยาบ :  ธรรมดาเราใช้ทั้งหินย่อยและกรวดเป็นมวลรวมหยาบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาวัสดุ ปกติจะระบุไว้ในข้อกำหนด (Specification) ว่าให้ใช้แบบใด ซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องคอยตรวจคุณภาพของวัสดุที่ส่งเข้ามาอย่างสม่ำเสมอเพราะอาจไม่ใช่วัสดุจากแหล่งเดียวกัน และอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนมาได้ เช่น หินผุ หรือหินอื่นๆ ที่มีคุณภาพด้อยกว่าที่กำหนด
  4. น้ำ : ต้องเป็นน้ำสะอาด  ซึ่งโดยมากส่วนใหญ่จะใช้น้ำประปาและอาจจะต้องมีการกรองเอาสิ่งสกปรกออก ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำที่สะอาดได้ แล้วจำเป็นต้องใช้น้ำที่ขุ่นในการผสมคอนกรีต จะมีเทคนิคในการทำน้ำให้ใสขึ้น ดังนี้ เทปูนซีเมนต์ 1 ลิตร ลงไปในน้ำขุ่น 200 ลิตร ทิ้งไว้ 5 นาที เพื่อให้สิ่งสกปรกตกตะกอนแล้วจึงสูบน้ำที่ใสแล้วจากด้านบนหมดมาใช้ได้ แต่ทั้งนี้น้ำควรจะผ่านการทดสอบคุณสมบัติอื่นๆ ก่อนนำมาใช้
  5. สารผสมชนิดอื่นๆ  : สารเหล่านี้ใช้เพื่อปรับคุณสมบัติของคอนกรีต เช่น สารเพิ่มความแข็งแรง สารเพิ่มความยืดหยุ่นของคอนกรีต เป็นต้น

คอนกรีตผสมเสร็จ ( Ready Mixed Concrete)

คอนกรีตผสมเสร็จ หรือปูนผสมเสร็จ  เป็นวัสดุก่อสร้าง โดยมีส่วนผสมของ ปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต เมื่อนำวัตถุดิบเหล่านี้ผสมเข้ากันแล้ว จะมีสถานะเป็นของไหล และจะคงสถานะนี้เป็นระยะเวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง โดยขึ้นอยู่กับสูตรส่วนผสมของคอนกรีต โดยคอนกรีตผสมเสร็จหรือปูนผสมเสร็จนี้ จะถูกผสมโดยโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ หรือแพล้นปูน และลำเลียงใส่รถโม่ปูน หรือที่เราเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รถปูน ไปยังหน้างานก่อสร้างต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ห่างจากโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จไปเป็นระยะทางไม่เกิน 30 กิโลเมตร เนื่องจากคอนกรีตผสมเสร็จมีอายุคงสถานะของไหลได้เพียง 1-3 ชั่วโมง หลังจากที่คอนกรีตผสมเสร็จ ถูกเทลงบนโครงสร้างแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 60 นาที จึงจะเริ่มเปลี่ยนสถานะจากของไหลเป็นของแข็ง ซึ่งการเลือกซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ โดยราคาคอนกรีตจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดชั้นคุณภาพ ระยะเวลากำลังอัด ค่ายุบตัวของคอนกรีต และระยะทางจัดส่ง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติและราคาของคอนกรีตผสมเสร็จ

ปัจจุบันนี้สถานที่ก่อสร้างแต่ละที่นิยมใช้คอนกรีตผสมเสร็จแทนการผสมคอนกรีตเองที่ไซต์งาน เนื่องจากสะดวกสะดวก รวดเร็ว และสามารถควบคุมคุณภาพของส่วนผสมได้ ทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามกำหนด ทั้งยังไม่ต้องเสียพื้นที่ในการเก็บวัสดุสำหรับผสมคอนกรีต ( ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน) อีกด้วย ทั้งยังไม่จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำที่สะอาดเพื่อที่จะให้ได้คอนกรีตตามที่ต้องการ นอกจากนั้นเปอร์เซ็นต์การสูญเสียคอนกรีตในระหว่างการผสมลำเลียง และเทย่อมลดน้อยลงด้วย อีกทั้งบริเวณที่ก่อสร้างก็จะสะอาดไม่เลอะเทอะคอนกรีตผสมเสร็จมักจะขนส่งมาแบบเป็นคันรถแล้วใช้วิธีการปั๊มหรือเทตามจุดที่ต้องการ

อย่างไรก็ดีผู้ควบคุมงานไม่ควรประมาทว่าเป็นคอนกรีตผสมเสร็จแล้วจะต้องดีเสมอไป เพราะหากผู้รับเหมาก่อสร้างขาดความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอนกรีต ก็อาจสั่งการผิด ๆ ได้ เช่น กรณีที่เกิดความล่าช้าในการขนส่งคอนกรีตที่ผสมเสร็จแล้วขณะที่คอนกรีตมาถึงไซต์งานก่อสร้างอาจจะเป็นไปได้ว่าน้ำระเหยไปมากแล้วจนคอนกรีตมีการแข็งตัว ทำให้ส่วนผสมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ทางผู้รับเหมาอาจจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการเทน้ำลงไปผสมเพื่อให้คอนกรีตใช้งานได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะเป็นเหตุให้คอนกรีตมีกำลังต่ำได้

ในบางกรณีที่ต้องการใช้คอนกรีตปริมาณมากในการก่อสร้าง จะมีความจำเป็นต้องใช้คอนกรีตจากผู้ผลิตหลายแห่งในเวลาเดียวกัน ซึ่งถ้าหากสื่อสารกันไม่ดีอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ มีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในไซต์งานหนึ่ง คอนกรีตที่ส่งมาจากหลายผู้ผลิตมีคุณสมบัติที่เรียกว่า Crushing Strength ต่างกัน เมื่อนำมาใช้ในงานเดียวกันจะทำให้คอนกรีตที่ใช้ไปนั้นเกิดความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ควบคุมงานไม่รอบคอบพอ ไม่ได้ตรวจสอบ ปล่อยให้เทคอนกรีตที่มีกำลังและคุณภาพต่างกันผสมกันลงไป จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วนั้นไม่เป็นไปตามที่ต้องการ สุดท้ายแล้วอาจจะต้องทุบออกทั้งหมด จึงเป็นการเสียเวลาและเงินทองเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นกรณีเช่นนี้ผู้ควบคุมงานจะต้องเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ

สาเหตุของการเกิด รอยร้าว ของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว
 

-การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบทความนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้                            

1.การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู หรือ น๊อต ถ้าเกิดการหลุดหลวมก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบบขยับตัวได้เช่นกัน ส่วนกรณีคอนกรีตเทบนพื้นความชื้นจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่รองรับเกิดการเคลื่อนไหวหรือขยับตัว ทำให้เกิดรอยร้าวได้ การทรุดตัวของพื้นอันเนื่องมาจากการบดอัดไม่แน่นก็ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้ รูปร่าง ไม่แน่นอนกควบคุมเพื่อมิให้เกิดรอยร้าวสามารถที่กระทำได้ด้วยการตรวจความแน่นของพื้นที่รองรับและแบบหล่อก่อนที่จะเทคอนกรีต 

2.การทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (Settement) รอยร้าวชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากส่วนผสมของคอนกรีตเหลวเกินไป ดังนั้นในช่วงเวลาที่คอนกรีตกำลังก่อตัวอยู่ วัสดุผสมจำพวกหินและทรายก็ยังจมอยู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัวทรุดตัวอยู่รอบๆ วัสดุนั้น ทำให้เกิดรอยร้าวบนผิวหน้าคอนกรีตตามแนวของวัสดุ นั้นๆ สาเหตุดังกล่าวนี้สามารถควบคุมได้ด้วยสการลดปริมาณน้ำในส่วนผสมลงและใช้ หิน ทรายที่มีขนาดลดหลั่นพอดี   

3.รอยร้าวเกิดจากการหดตัวของคอนกรีตในขณะก่อตัว (Plastic Shrinkage) รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากอัตราการระเหยตัวของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากคอนกรีตในขณะก่อตัวเนื่องจากสภาพของดินฟ้าอากาศ และอุณหภูมิของคอนกรีตเอง รอยร้าวชนิดนี้พบมากที่สุดบนพื้นคอนกรีต ลักษณะการร้าวส่วนใหญ่จะร้าวเป็นเสส้นตรงหรือเป็นรูปตีนกา มักเกิดภายในกรอบของพื้น แต่ก็มีบ้างที่ร้าวไปจนถึงขอบเลยก็มี รอยร้าวชนิดนี้ลึกมาก บางกรณีอาจร้าวตลอดความหนาของพื้นคอนกรีต

ปัญหาที่พบกันมากที่สุดจะเป็นรอยร้าวเกิดจากการหดตัวของคอนกรีตในขณะก่อตัว (Plastic Shrinkage) ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่ก็จะทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ เนื่องจากรอยร้าวชนิดนี้เป็นช่องทางให้น้ำและอากาศเข้าไปทำอันตรายต่อเหล็กเสริมภายในเนื้อคอนกรีตได้ การควบคุมสามารถกระทำได้ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ ไม้แบบ พื้นที่รองรับวัสดุผสม นอกจากนั้นการทำแผงกันลม กันแดด การรีบแต่งหน้าคอนกรีต และการรีบบ่มคอนกรีตโดยเร็ว ก็สามารถช่วยขจัดการแตกร้าวได้ การหลีกเลี่ยงที่จะเทคอนกรีตในขณะอากาศร้อนหรือลมแรงก็สามารถที่จะช่วยขจัดการแตกร้าวได้ด้วยเช่นกัน รอยร้าวถ้าพบก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัว ก็อาจแก้ไขได้ด้วยการเขย่าววคอนกรีตอีกครั้งหนึ่งหรือ แก้โดยการแต่งผิวหน้าคอนกรีตด้วยวิธีคลุกเคล้าคอนกรีตเข้าหากันกัน เพื่อปิดรอยร้าวดังกล่าว

ข้อมูลด้านเทคนิคของ คอนกรีตผสมเสร็จโดยสรุปแล้วการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งมีหลายคุณลักษณะให้เลือก สามารถอธิบายให้เข้าใจอย่างง่ายได้ ดังนี้

1. ค่ากำลังอัดคอนกรีต (Strength)  = ปูนแข็งมาก-แข็งน้อย Strength ที่นิยม คอนกรีตลีน(หยาบ) 180 ,210 ,240 ,280

2. ค่าการยุบตัวของคอนกรีต (Slump) = ลื่นไหลมาก-ลื่นไหลน้อย ค่า Slump ที่เหมาะสม 7.5+-2.5

3. อายุ = คอนกรีตแข็งไว – คอนกรีตแข็งช้า

ซึ่งการสั่งซื้อคอนกรีตที่มีคุณภาพสูงนั้น ต้องประเมินทั้งเรื่อง คุณภาพวัตถุดิบ ปูนต้องมาจากแหล่งอ้างอิงที่ตรวจสอบได้ รถโม่คอนกรีตต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ แพล้นผลิตคอนกรีตต้องได้รับมาตรฐานการันตี รวมถึงประสบการณ์ของผู้จัดจำหน่ายต้องน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบได้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าได้คอนกรีตที่มีมาตรฐานและเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

ขอใบเสนอราคา